เอกพันธ์ ปัดถาวะโร 8 สิงหาคม 2555
แนวคิดจรรยาบรรณวิชาชีพชั้นสูง
จรรยาบรรณวิชาชีพ
หมายถึง ประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพต้องประพฤติปฏิบัติ
เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบอาชีพปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง
โดยที่ข้อบัญญัตินั้นอาจเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
หรือบอกกล่าวด้วยวาจาในสังคมวิชาชีพนั้นก็ได้
ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณจะต้องได้รับโทษโดยการว่ากล่าวตักเตือน
ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้
จรรยาบรรณวิชาชีพครู
จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครู
เป็นผู้กำหนด
และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด
หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ
ความสำคัญ
จรรยาบรรณวิชาชีพครู
มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพมีความสำคัญ
ต่อวิชาชีพอื่น
ๆ ซึ่งสรุปได้ 3 ประการ คือ
1. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
2. รักษามาตรฐานวิชาชีพ
3. พัฒนาวิชาชีพ
ลักษณะของจรรยาบรรณวิชาชีพครู
จรรยาบรรณวิชาชีพครู
จะต้องมีลักษณะ 4 ประการ คือ
1. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อผู้เรียน (Commitment to the
student)
2. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสังคม (Commitment to the
society)
3. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อวิชาชีพ (Commitment to the
profession)
4. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสถานปฏิบัติงาน
(Commitment
to the employment practice)
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์
โดยเสมอหน้า
โดยเสมอหน้า
2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้
ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย
สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
และไม่ใช้ศิษย์
กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ
เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล
การพยาบาลเป็นการปฏิบัติโดยตรงต่อบุคคล
ครอบครัว ชุมชนและสังคม นับได้ว่าเป็นบริการในระดับสถาบันของสังคม ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง
เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติ มีจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นแนวทางในการประพฤติและปฏิบัติ
ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสังคมโดยส่วนรวม
จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับพยาบาลเป็นการประมวลหลักความประพฤติให้บุคคลในวิชาชีพยึดถือปฏิบัติ
สมาคมพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา
(The
America Nurses Associations A.N.A.) ได้กำหนดสาระสำคัญ
ของจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลไว้ดังนี้
1.
พยาบาลพึงให้บริการพยาบาลด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี
และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัด
ในเรื่องสถานภาพทางสังคม
เศรษฐกิจ คุณสมบัติเฉพาะกิจหรือสภาพปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย
2. พยาบาลพึงเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้ป่วยโดยรักษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยไว้เป็นความลับ
3. พยาบาลพึงให้การปกป้องคุ้มครองแก่ผู้ป่วย
สังคม ในกรณีที่มีการให้บริการสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยถูกกระทำการที่อาจเกิดจากความไม่รู้
ขาดศีลธรรม จริยธรรม หรือการกระทำที่ผิดกฎหมายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด
4. พยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยแต่ละราย
5. พยาบาลพึงดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล
6. พยาบาลพึงตัดสินใจด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน
ใช้ข้อมูลสมรรถนะและคุณสมบัติอื่นๆ เป็นหลักในการขอ
คำปรึกษาหารือยอมรับในหน้าที่ความรับผิดชอบ
รวมถึง การมอบหมายกิจกรรมการปฏิบัติการพยาบาลให้ผู้อื่นปฏิบัติ
7. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในกิจกรรมการพัฒนาความรู้เชิงวิชาชีพ
8. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล
9. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดและดำรงไว้ซึ่งสถานะภาพของการทำงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง
10. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองสังคมจากการเสนอข้อมูลที่ผิด
และดำรงไว้ซึ่งความสามัคคี
ในวิชาชีพ
11. พยาบาลพึงร่วมมือและเป็นเครือข่ายกับสมาชิกด้านสุขภาพอนามัยและบุคคลอื่นๆ
ในสังคมเพื่อส่งเสริมชุมชนและสนองตอบความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของสังคม
จรรยาบรรณวิชาชีพนักกฎหมาย
นักกฎหมาย หมายถึง ผู้ที่ใช้ความรู้ทางกฎหมายเป็นวิชาการประกอบการงานที่ตนปฏิบัติในสาขาต่าง
ๆ
เป็นคำรวมหมายความถึงผู้ประกอบการงานทางกฎหมายทุกประเภท ไม่เฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับศาล
เป็นคำรวมหมายความถึงผู้ประกอบการงานทางกฎหมายทุกประเภท ไม่เฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับศาล
นักกฎหมายที่ดีพร้อมจะทำงานให้กับผู้ว่าจ้างอย่างเต็มที่
ถูกต้อง โปร่งใส่ตรวจสอบได้ นักกฎหมายหรือทนายความที่จะรับจ้างทำงานเหล่านี้
จะให้ความสำคัญ เรื่องสัญญาว่าจ้างเป็นสิ่งที่ต้องมาเป็นอันดับแรกก่อนเริ่มทำงาน
แต่ปัจจุบันนี้ จะมีพวกนักกฎหมายบางประเภทที่ชอบเลี่ยงกฎหมาย โดยเฉพาะพวกทนายเจ้าหนี้ที่มักจะไม่ทำเป็นหนังสือบอกกล่าว
ตามกฎหมายแต่จะส่งหนังสือไปให้อีกฝ่ายโดยเป็นการแจ้งให้ทราบเท่านั้น
จรรยาบรรณวิชาชีพนักกฎหมาย ดังต่อไปนี้
1.
พึงถือว่างานกฎหมายเป็นอาชีพ มิใช่ธุรกิจ
2.
พึงถือว่ากฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือของความยุติธรรม
มิใช่มาตรการความยุติธรรม
3.
พึงถือว่านักกฎหมายทุกคนเป็นที่พึ่งของประชาชน
4.
พึงถือว่าความยุติธรรมอยู่เหนืออามิสสินจ้างใดๆ
5.
พึงถือว่าความยุติธรรมเป็นกลางสำหรับทุกชาติ ศาสนา ทุกฐานะ
6. พึงถือว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิในเรื่องความยุติธรรมเท่าเทียมกัน
7. พึงขวนขวายหาความรู้ให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
8. พึงถือว่าเวลาเป็นเรื่องสำคัญ จึงไม่พึงรีบร้อน
9. พึงงดเว้นอบายมุขทั้งหลาย
10. พึงรักษาเกียรติยิ่งกว่าทรัพย์สินใดๆ
11. พึงถือว่าบุคคลมีค่าเหนือกว่าวัตถุทุกอย่าง
จรรยาบรรณวิชาชีพของนักสื่อสารมวลชน
จรรยาบรรณของสื่อมวลชน
หมายถึง หลักคุณธรรมของผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชน มารวมตัวกันเป็นสมาคมวิชาชีพ สร้างขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชน
ให้มีความรับผิดชอบ
ความสำคัญของจรรยาบรรณสื่อสารมวลชน
1.
เป็นแนวทางในการควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม
2.
ทำให้นักสื่อสารมวลชนและวิชาชีพสื่อสารมวลชนได้รับการยินยอมยกย่อง ให้เกียรติและศรัทธาจากประชาชน
3.
ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพการสื่อสารมวลชนเกิดความภูมิใจในอาชีพตน
4.
เป็นเกราะป้องกันเสรีภาพของสื่อมวลชน
5.
เป็นหลักให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพนักสื่อสารมวลชน
6.
ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและสังคม
7.
เป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการพัฒนา
จรรยาบรรณของนักสื่อมวลชน
1.
พึงตระหนักในความรับผิดชอบต่อทุกเรื่องที่ออกทางสื่อมวลชน
2.
พึงเสนอข่าวตามที่มีหลักฐาน ถ้าหากภายหลังพบว่าผิดพลาด
พึงแก้ข่าวด้วยความรับผิดชอบ
3.
พึงเสนอความร้รูอบตัวที่มีคุณประโยชน์ต่อคนจำนวนมาก
4.
พึงเสนอความบันเทิงที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย
5.
พึงสนองเป้าหมายของสังคมไทย โดยสนับสนุนการธำรงชาติศาสนา สถาบันกษัตริย์และ
ระบอบประชาธิปไตย
6.
พึงสจุริตต่อหน้าที่โดยไม่ยอมรับอามิสสินจ้างให้บิดเบือนเจตนารมณ์ของตนเอง
7
.พึงงดเว้นอบายมุขต่างๆ อันจะนำไปสู่การเสียอิสรภาพในการประกอบอาชีพด้านนี้
8.
พึงงดเว้นการใช้สื่อมวลชนเพื่อการกลั่นแกล้งหรือแก้แค้น
9.
ไม่พึงให้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือของผู้ใดผู้หนึ่งที่มีเป้าหมายมิชอบ
10.
พึงส่งเสริมให้อำนาจทุกฝ่ายตามรัฐธรรมนูญ มีเสถียรภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามกฎหมาย
11.
พึงถือว่าเกียรติและบุคลิกภาพของตนอยู่เหนือสิ่งใดทั้งหมด
12.
พึงกล้าชี้อันตรายของสังคมด้วยความบริสุทธิ์ใจ
จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม
วิชาชีพเภสัชกรรม
หมายถึง วิชาชีพที่เกี่ยวกับการกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์
การเลือกสรรยา
การวิเคราะห์ยา การควบคุมและประกันคุณภาพยา
การปรุงและจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์
การดำเนินการปรุงยาและการขายยา
ตามกฎหมายว่าด้วยยา รวมทั้งการให้บริบาลทางเภสัชกรรม
และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม ดังนี้
1. เภสัชกร พึงยึดถือสุขภาพ และความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วย
2. เภสัชกรต้องรักษาไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
3. เภสัชกรพึงเคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง
4.
เภสัชกรต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
5. เภสัชกรพึงสร้างความไว้วางใจในประสิทธิภาพของการบริการของตน
6. เภสัชกรต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย
7. เภสัชกรพึงศึกษาติดตามความก้าวหน้าทางวิชาเภสัชศาสตร์
8.
เภสัชกรต้องไม่ประกอบวิชาชีพในสถานที่
9.
เภสัชกรต้องไม่โฆษณาใช้จ้างวานหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพ
10.
เภสัชกรผู้ให้บริการประชาชน
ต้องไม่ปฏิบัติในสถานที่สาธารณะ
11.
เภสัชกรพึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน
12.
เภสัชกรต้องไม่จำหน่าย แจก หรือแนะนำยา
ซึ่งขาดคุณภาพ
13.
เภสัชกรต้องให้คำแนะนำในการใช้ยาอย่างถูกต้อง
14.
เภสัชกรต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นเท็จโดยตั้งใจ
15.
เภสัชกรต้องไม่ใช้หรือสนับสนุนให้มีการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
กล่าวโดยสรุป จรรยาบรรณวิชาชีพชั้นสูงนั้นโดยปกติแล้ว จรรยาบรรณไม่ใช่ข้อบังคับและไม่ใช่กฎหมาย
แต่จรรยาบรรณเป็นแนวทางหรือกรอบแห่งการดำเนินชีวิตที่ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ
พึงถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทุกสาขามีจุดประสงค์ร่วมกันคือ มุ่งความเจริญ ความมั่นคงของผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ
จรรยาบรรณกับคุณธรรมเป็นของคู่กัน ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีจรรยาบรรณก็คือผู้ประกอบวิชาชีพที่มีคุณธรรมนั่นเอง ดังนั้นข้อกำหนดต่างๆ
ที่มีในจรรยาบรรณวิชาชีพชั้นสูงดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเป็นแนวทางในการควบคุมให้สมาชิกทุกคนปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน
โดยมีความแตกต่างกันในแต่ละสาขาอาชีพสอดคล้องกับวิชาชีพนั่นๆ
ที่ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติ
บรรณานุกรม
เกศินี(2553).
จรรยาบรรณของสื่อสารมวลชน. วันที่สืบค้นข้อมูล 16
มิถุนายน 2555, เข้าถึงข้อมูลได้จาก
http://kesineelak.blogspot.com/2010/06/blog-post_11.html
คลังปัญญาไทย(2555).
พยาบาล. วันที่สืบค้นข้อมูล 16 มิถุนายน 2555, เข้าถึงเข้ามูลได้จาก
http://www.panyathai.or.th /wiki/index.php/พยาบาลพฤทธิ์
พูนฤดี สุวรรณพันธ(2555). จรรยาบรรณของอาชีพต่างๆ.
วันที่สืบค้นข้อมูล 16 มิถุนายน
2555, เข้าถึงข้อมูล
ได้จาก http://www.basju.net/pum/ch4_moto_mot.pdf
พงศ์สภา เฉลิมกลิ่น(2555). จรรยาบรรณในวิชาชีพ. วันที่สืบค้นข้อมูล 16
มิถุนายน 2555, เข้าถึงข้อมูลได้จาก
http://home.npru.ac.th/pongsada/sheet/sheet_2/Chapter%2010.ppt.
http://home.npru.ac.th/pongsada/sheet/sheet_2/Chapter%2010.ppt.
ศิริบรรณพิทักษ์(2555)
.จรรยาบรรณวิชาชีพครู. วันที่สืบค้นข้อมูล 16
มิถุนายน 2555, เข้าถึงเข้ามูลได้จาก